กทพ. จึงทำการจ้างที่ปรึกษาเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของโครงข่ายถนนและทางหลวงในปัจจุบัน รวมทั้งอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัดสระบุรี นครนายก ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก – สระบุรี มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- ศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และการเงิน ของโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช – นครนายก – สระบุรี
- สำรวจและออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) ของโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช – นครนายก – สระบุรี
- ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช – นครนายก – สระบุรี โดยให้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสนอมาตรการลดผลกระทบ และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำหนด
- เผยแพร่ข้อมูลโครงการและจัดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชน
- ประชาสัมพันธ์โครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- จัดทำการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ของโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี
- จัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ตามรายละเอียดที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐประกาศกำหนดโดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556